วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความแตกต่างด้านการศึกษาจีน-ไทย

เนื่องจากวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การเมืองและปัจจัยอื่นๆมีความแตกต่างเป็นอย่างมาก การศึกษาระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยจึงไม่เหมือนกัน ผมได้ศึกษาด้านการเรียนการสอนของประเทศจีนและประเทศไทยแล้ว จึงสรุปได้ออกมา10ประการ ได้แก่
ประการที่๑ การวัดและประเมินผล ประเทศจีนจะให้ความสำคัญกับการสอบข้อเขียนในการสอบปลายภาค นักเรียนชาวจีนสอบได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น ไม่คะแนนเก็บอื่นๆ แต่คะแนนรวมของประเทศไทยจะประกอบไปด้วย คะแนนเก็บ สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ทำเช่นนี้ นักเรียนชาวไทยจะไม่มีความกดดันจากการสอบข้อเขียน เพราะตั้งใจทำงานในชั้นเรียนก็ได้มีโอกาสเก็บคะแนน
ประการที่๒ จุดประสงค์การศึกษา ประเทศจีนจะเน้นการพัฒนาคุณธรรม สติปัญญาและสุขภาพของนักเรียนเป็นหลัก เพื่อให้นักเรียนได้รับใช้ประเทศชาติ แต่ในประเศไทยจะเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่วแบละมีความสุข
ประการที่๓ สถานศึกษาของประเทศไทยได้นำหลักทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็นและมีความรู้พอเพียง แต่ในการจัดการสึกษาของประเทสจีนไม่มีหลักทฤษฎีนี้
ประการที่๔ การจัดหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต ในประเทศไทย หลักสูตรมหาบัณฑิตจะแบ่งเป็น๒แผน ก็คือ แผน ก และแผน ข แต่ในประเทศจีนนั้น นักศึการะดับมหาบัณพิตต้องทำวิทยานิพนธ์
ประการที่๕ ช่วงเวลาปิดเทอมในประเทศจีนจะอยู่เดือนกุมภาพันธ์ กรกฎาคมและสิงหาคม แต่ในประเทศไทยจะเป็นเดืนมีนาคม เมษายน พฤษภาคมและตุลาคม
ประการที่๖ การจัดการศึกษาของประเทศจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีขงจื๊อ แต่ประเทศไทย ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ
ประการที่๗ ระบบการบริหารสถานศึกษาของประเทศจีนจะจัดมีคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิศ ประเทศไทยไม่มีพรรคการเมืองเข้าร่วมการบิหารสถานศึกษา
ประการที่๘ การพักตอนเที่ยง นักเรียนชาวจีนจะได้พัก๒ชั่วโมงในตอนเที่ยง แต่ในประเทศไทย นักเรียนมีแค่๑ชั่วโมงเท่านั้น ชาวจีนชอบนอนตอนเที่ยง เพื่อเฟื้อนฟูกำลังจิต ส่งผลดีต่อการทำงานในตอนบ่าย
ประการที่๙ การใช้ภาษา ผู้สอนชาวจีนดำเนินการเรียนการสอนด้วยภาษาจีนกลาง แต่ผู้สอนชาวไทยจะใช้ภาษาไทยมาบรรยาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น